วันพุธ ที่ 15 เมษายน 2563 เวลา 07.00 น.
นายวิทยา นนท์นภา รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต 4, นายโพชัน ขุนาพรม รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต 4, นายพิทักษ์ สมพร้อม รอง ผอ.สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ผู้อำนวยการกลุ่มและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับชมการประชุมทางไกล “รายการพุธเช้า…ข่าวโรงเรียน” และ “รายการพุธเช้า…ข่าวสพฐ. ครั้งที่ 15/2563” ณ ห้องประชุม AOC สรุปผลการประชุม ดังนี้
โครงการตามพระราชดำริ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง
ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เป็นโครงการพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จ.นราธิวาส เพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ที่เกษตรกรทำนาได้ผลไม่คุ้มค่า โดยทำควบคู่กับการพัฒนาด้านป่าไม้และแหล่งน้ำ
เรื่องเด่นประเด็นสำคัญ
นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน เป้นผู้ดำเนินการแจ้งสาระข่าวของ สพฐ.
๑. กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในสังกัด ดำเนินการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์และ
ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID – 19)
ข้อมูลเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓
โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
๒. มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระทรวงศึกษาธิการ : ปรับการเปิด-ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๓
ภาคเรียน | การเปิดภาคเรียน | การปิดภาคเรียน |
ภาคเรียนที่ ๑ | ๑ ก.ค. ๖๓ – ๓๐ พ.ย. ๖๓ | ไม่มีการปิดภาคเรียน |
ภาคเรียนที่ ๒ | ๑ ธ.ค. ๖๓ – ๓๐ เม.ย. ๖๓ | ๑ – ๑๕ พ.ค. ๖๔* |
* ปิดให้เฉพาะนักเรียน ส่วนครูผู้สอนให้เป็นช่วงเวลาในการจัดทำคะแนน รายงานและหรือเอกสารต่าง ๆ เป็นต้น
๓. แถลงการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ช่วง COVID – 19 ครั้งที่ ๑ “การเรียนรู้ นำการศึกษา โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้”
(๑) การจัดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง
การเปิดเทอมอาจหมายถึงการเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผลการประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
(๒) อำนวยการให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้ แม้จะไม่สามารถไป รร.ได้
(๓) ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเสนอขอช่องดิจิทัล TV จาก กสทช. ทั้งหมด ๑๓ ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นสามารถเรียนผ่าน DLTV ได้ ทั้งนี้จะยังไม่มีการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติม โดยไม่จำเป็น
(๔) ตัดสินใจนโยบายต่าง ๆ บนพื้นฐานของการสำรวจความต้องการ ทั้งจากนักเรียน ครูและโรงเรียน โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นที่ตั้ง และกระทรวงจะสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่
(๕) ปรับปฏิทินการศึกษาของไทย ให้เอื้อต่อการ “เรียนเพื่อรู้” ของเด็กมากขึ้น รวมทั้งมี
การปรับตารางเรียนตามความเหมาะสม โดยเวลาที่ชดเชย จะคำนึงถึงภาระของทุกคน และการได้รับความรู้ครบตามช่วงวัยของเด็ก
(๖) บุคลาการทางการศึกษาทุกท่าน จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และทำให้ท่านได้รับผลกระทบเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
หลักสูตรอบรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู Coding for Teacher (C4T)
จากเดิมเป็นแบบ Face to Face มาเป็นแบบ Online มี ๓ ส่วน
เหมาะสำหรับครูที่รับผิดชอบในด้านวิทยาการคำนวณ หรือครูที่สนใจ โดยผู้ผ่านการอบรมจะได้รับเกียรติบัตรที่สามารถนำไปนับจำนวนชั่วโมงได้
รับสมัคร ๑ – ๑๕ พ.ค. ๖๓
ระยะเวลาอบรม ๑ พ.ค. – ๓๐ มิ.ย. ๖๓
มี ๔ ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษาตอนต้น, ประถมศึกษาตอนปลาย, มัธยมศึกษาตอนต้นและ
มัธยมศึกษาตอนปลาย
สมัครได้ที่ http://teacherpd.ipst.ac.th
หน้ากากอนามัยเพื่อตนเองและคนรัก สพป.ตาก เขต ๒
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค COVID – 19 โดยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัย โดยส่งเสริมให้นักเรียนผลิตหน้ากากอนามัยใช้เอง เพื่อป้องกัน COVID – 19 และฝุ่น PM 2.5
ข่าว : ธิดารัตน์ กาวไธสง
ภาพ : ธิดารัตน์ จันทะกล